ia

......หมวดโคนม

หมวดโคนมมีโคทั้งสิ้น 98 ตัว (สำรวจเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550) แบ่งเป็น 1) โครีดนม จำนวน 24 ตัว คิดเป็น 24.5 % ของฝูง 2) โคนมแห้ง จำนวน 29 ตัว คิดเป็น 29.6 % ของฝูง 3) โคสาวทดแทน จำนวน 23 ตัว คิดเป็น 23.5 % ของฝูง 4) โครุ่น – ลูกโค จำนวน 15 ตัว คิดเป็น 15.3 % ของฝูง 5 โคนมเพศผู้ จำนวน 7 ตัว คิดเป็น 7.1 % ของฝูง ด้านการผลิตในรอบปี (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2550) ผลผลิตน้ำนมรวมทั้งหมด 109,972.7 กิโลกรัม เฉลี่ยผลผลิต 301.31 กิโลกรัม/วัน โดยมีจำนวนโครีดนมเฉลี่ย 37 ตัว/วัน เฉลี่ยได้ผลผลิตนม 8.1 กิโลกรัม/ตัว/วัน

จำนวนสัตว์ปัจจุบัน (สำรวจเมื่อ 6 พ.ย. 50)

จำนวน

จำนวนโคทั้งหมด

100

แม่โค

60

โคสาวทดแทน

20

โครุ่น-ลูกโค

20

สมรรถนะการผลิต

 

   - สัดส่วนฝูงแม่โค (%)

60

   - สัดส่วนฝูงโคสาวทดแทน (%)

20

   - สัดส่วนฝูงรุ่น-ลูกโค (%)

20

   - จำนวนโครีดนม (เฉลี่ย ตัว/เดือน)

40

   - จำนวนโคที่คลอด (ตัว/ปี)

40

   - ผลผลิตรวม (ตัน/ปี)

140

   - ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ตัว/วัน)

10

   - อัตราการตั้งท้อง/การผสม (ครั้ง)

2

 

พื้นที่และอาคารปฏิบัติงาน

พื้นที่ทั้งหมด                                                           300 ไร่
แหล่งน้ำ                                                                    10 ไร่
พื้นที่การเรียนการสอน งานทดลองและสาธิต             284 ไร่
อาคารโรงเรือนและพื้นที่ถนน                                        6 ไร่

  1. โรงรีดนมด้วยเครื่องอัตโนมัติ
  2. โรงเรือนแม่โครีดนม
  3. โรงเรือนอนุบาลลูกโคและโคนมแห้ง
  4. โรงเรือนจัดการสุขภาพโคป่วย
  5. โรงเรือนทดลองและวิจัย
  6. โรงรถแทรกเตอร์ พื้นที่ถนน และลานจอด

ในส่วนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยตลอดจนการบริการวิชาการด้านการฝึกอบรมต่างๆนั้น ทางหมวดโคนมต้องใช้พื้นที่แปลงหญ้าประมาณ 300 ไร่ ในการเตรียมโคนม 98 ตัวต่อปี


ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การฝึกงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1. วิชาฝึกงานหน่วย 3 (117 283)

เป็นการฝึกงานด้านการผลิตโคนมพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ทั้งสองภาคการศึกษา จำนวน 420 คน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าฝึก โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการจัดการลูกโคเบื้องต้น การให้อาหารแม่โครีดนม การจัดการรีดนมโคเพื่อผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ

2. วิชาฝึกงานหน่วย 5 (117 385)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางในการจัดการด้านการผลิตโคนม สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ ฝึกการจัดการให้อาหารโคในระยะต่างๆ การตรวจสุขภาพโคนม การฉีดยา การตรวจสัดและการผสมเทียม การถ่ายพยาธิ การจัดการรีดนมด้วยเครื่องมือและระบบอัตโนมัติ การวางแผนผังฟาร์ม การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เป็นต้น

การปฏิบัติงานสนามในรายวิชาต่างๆ

1. กลุ่มรายวิชาที่ใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานจำนวน 5 รายวิชา

ได้แก่ 117 101 การผลิตสัตว์เบื้องต้น, 117 331 กายวิภาคศาสตร์, 117 404 การผลิตโคนม, 117 432 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง, 117 461 สุขศาสตร์สัตว์
เป็นการฝึกปฏิบัติการด้านการจัดการฟาร์มโคนมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในภาคบรรยาย การศึกษาโครงสร้างกายวิภาคของสัตว์เคี้ยวเอื้องจากตัวสัตว์จริงนอกเหนือจากห้องปฏิบัติการ โครงสร้างเต้านม การตรวจสอบคุณภาพน้ำนม และการเก็บตัวอย่างเลือด มูล และอื่นๆจากโคนมเพื่อตรวจสุขภาพ จำนวนนักศึกษา 75 คน/วิชา และต้องเตรียมโคนมให้กับอาจารย์ผู้สอนจำนวนไม่ต่ำกว่า 98 ตัวต่อปี

2. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้พื้นที่การทดลอง

หมวดโคนมให้บริการด้านการศึกษาปัญหาพิเศษแก่นักศึกษาปริญญาตรี เน้นหัวข้อทางด้านการแก้ปัญหาการผลิตโคนม เช่น การจัดการลดการตายในโคนมแรกคลอด การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นอาหารโคนม เป็นต้น ซึ่งมีประมาณ 5-10 เรื่องต่อปี ต้องใช้พื้นที่ 8 ไร่/งานทดลอง

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 4 คน, ปริญญาเอก จำนวน 2 คน


ภารกิจด้านการวิจัย

งานวิจัยด้านสรีรวิทยา

การวิจัยด้านโคนมเพื่อให้ทนต่อความเครียดเนื่องจากความร้อนเป็นทิศทางหลักเพื่อรองรับภาวะโลกที่ร้อนขึ้นในอนาคต และการวิจัยเพื่อให้โคนมมีการผสมติดที่ดีขึ้นเป็นอีกปัญหาหลักของประเทศไทยซึ่าต้องการการแก้ปัญหาเนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

งานวิจัยด้านการผลิตและโภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ภาควิชาสัตวศาสตร์เน้นการค้นคว้าวิจัยด้านการค้นหาทรัพยากรอาหารสัตว์ท้องถิ่นเพื่อทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปัจจุบัน ที่ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างพลังงานทดแทน มีงานวิจัยจากศูนย์วิจัยเฉาะทางด้านทรัพยากรอาหารสัตว์ เพื่อหาแหล่งทดแทนอื่นที่เป็นไปได้ เช่น กากเหลือใช้จากการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กากมันสำปะหลัง กากผงชูรส ฯลฯ รวมถึงต้องค้นหาแหล่งอาหารหยาบทดแทน หรือที่มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์สูง

งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์

การปรับปรุงพันธุ์ให้โคนมมีความทนร้อนสูงขึ้น และมีการให้ผลผลิตน้ำนมสูงขึ้น รวมถึงมีการต้านทานต่อโรคเต้านมอักเสบ และไข้เห็บ โดยการผสมข้ามและการใช้เครื่องหมายพันธุกรรม (genetic markers) เป็นงานวิจัยที่กำลังดำเนินการและได้รับการสนใจและสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกร่วมด้วยเช่นสภาวิจัยสกวเป็นต้น


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

การฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเกษตรกร

หมวดโคนมมีการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรในหลายด้าน เช่น การผสมเทียมโค การเลี้ยงโคนม โดยมีการจัดอบรมอย่างน้อย 2-3 รุ่นต่อปี แต่ละรุ่นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 50 คน

การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต

หมวดโคนมมีการให้บริการด้านการให้ความอนุเคราะห์มูลโคเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนในส่วนของการผลิตหญ้าหมักและหญ้าแห้งบ้างบางส่วน

การสาธิตเทคโนโลยีและกระบวนการต้นแบบ

หมวดโคนมให้บริการด้านเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานด้านการผลิตโคนมให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยการนำของผู้นำท้องถิ่น (อบต) นักวิจัยจากประเทศในกลุ่มอินโดจีน เช่น ลาว เวียดนาม จีน และผู้สนใจอื่นๆไม่ต่ำกว่า 100 คนต่อปี เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีระบบฟาร์มการผลิตโคนมที่ทันสมัย เพื่อดูการสาธิตการรีดนมแบบอัติโนมัติ การสาธิตการย้ายฝากตัวอ่อน การสาธิตการตรวจสอบคุณภาพน้ำนม เช่น ไขมันนม น้ำตาลแลคฅโตส โปรตีนนม ฯลฯ ด้วยเครื่องวิเคราะห์อัติโนมัติ และชมโรงเรือนที่เป็นต้นแบบการจัดการ และเยี่ยมชมงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชุน


แนวทางการพัฒนา

หมวดโคนมมีนโยบายในการเพิ่มจำนวนสัตว์จากปัจจุบัน 98 ตัว เป็น 150 ตัว ภายใน 5 ปี เพื่อรองรับการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการตามภารกิจ ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการฟาร์ม และเพิ่มรายได้ด้านการผลิตน้ำนม และการผลิตน้ำนมปรุงแต่งตรามหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสร้างรายได้ตามนโยบายการพึ่งตนเองและเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย จึงมีแนวคิดในการวางระบบรั้วเพื่อพัฒนาพื้นที่บางส่วนเป็นฟาร์มสาธิตในการผลิตน้ำนมแบบปศุสัตว์อินทรีย์ ตามแนวทางเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ปรับปรุงโรงเรือนทดลองแม่โครีดนม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรม แต่ต้องรองรับงานวิจัยประมาณ 10-15 เรื่องต่อปี


แผนที่หมวดโคนม

ดูรายละเอัียดแผนที่หมวดโคนม >> คลิ้กที่นี่


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปี 2550 หมวดโคนม >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2550
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชาหลักการผลิตสัตว์ (117 101) จำนวน 1 คาบ / 4 กลุ่ม และ 1 กลุ่ม ภาคพิเศษ / เทอม จำนวนนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ และคณะสัตวแพทย์ ทั้งหมด 244 คน
  • ร่วมสอน/ฝึกงาน วิชาการฝึกงาน 3 (117 283) จำนวน 28 คาบ / เทอม จำนวนนักศึกษา 154 คน
  • ร่วมสอน/ฝึกงาน วิชาการฝึกงาน 5 (117 385) จำนวน 30 คาบ / เทอม จำนวนนักศึกษา 8 คน
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชาการผลิตโคนม (117 404) จำนวน 4 คาบ / 2 กลุ่ม / เทอม จำนวนนักศึกษา 704 คน
  • บริการโคนมจำนวน 5 ตัว ใช้ในการวัดขนาดลำตัวโคนม เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการทำ Seminar project โดย ผศ. สุภร กตเวทิน
  • บริการโคตั้งท้องเพื่อใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจวัดการตั้งท้อง วิชากายวิภาคและสรีระวิทยาของสัตว์เลี้ยง (117330) โดย ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ จำนวน 5 ครั้ง จำนวนนักศึกษา 15 คน
  • บริการโคเพื่อใช้เก็บตัวอย่างเลือด จำนวน 7 ตัว ปัญหาพิเศษ เรื่อง “ การใช้ Estrous Cow Serum เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตัวอ่อนโคในหลอดแก้ว” ของนักศึกษาปริญญาโท (นางสาวชโลธร อัมพร)
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการวิชา หลักการผลิตสัตว์ (117 101) จำนวน 1 คาบ / 4 กลุ่ม /1 เทอม จำวนนักศึกษา 252 คน
  • ร่วมสอน/ฝึกงาน วิชาการฝึกงาน 3 (117 283) จำนวน 28 คาบ / เทอม จำนวนนักศึกษา 191 คน
  • ร่วมสอน/ฝึกงาน วิชาการฝึกงาน 5 (117 385) จำนวน 30 คาบ / เทอม จำนวนนักศึกษา 10 คน
  • บริการโคในรายวิชาสุขศาสตร์สัตว์ (117 461) คาบละ 15 ตัว เชือก คอกบังคับสัตว์ เพื่อใช้ในการ ตรวจร่างกายสัตว์ใหญ่ 4 คาบ ตรวจพยาธิในเลือด 4 คาบ และตรวจพยาธิในทางเดินอาหาร 4 คาบ
  • บริการโคสาวจำนวน 12 ตัว เพื่อฉีดฮอร์โมน และผสมเทียม วิชา 127 722 (รศ.ดร.เทวินทร์ วงศ์พระลับ) ระยะเวลา 1 เดือน
  • บริการข้อมูลทะเบียนประวัติ นักศึกษาปริญญาโท (นางสาวจุฬานีย์ น่วมจิตร์) เพื่อศึกษาข้อมูลในการคัดเลือกตัวสัตว์ ในงานทดลองวิทยานิพนธ์
  • 2549
  • ร่วมสอน วิชา 117 101 หลักการผลิตสัตว์ จำนวน 1 คาบ/4 กลุ่ม/เทอม จำนวน 272 คน
  • ร่วมสอน/ให้การฝึก 117283 การฝึกงาน 3 จำนวน 28 คาบ/เทอม จำนวน 127 คน
  • ร่วมสอน/ให้การฝึก วิชา 117385 การฝึกงาน 5 จำนวน 30 คาบ/เทอม จำนวน 12 คน
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117404 หลักการผลิตโคนม จำนวน 4 คาบ/2 กลุ่ม/เทอม
  • บริการวิชา 117331 สรีรวิทยาสัตว์เลี้ยง นางยุพิน ผาสุข คอกคัดโค 1 คอก โคนมแห้ง 12 ตัว เชือกบังคับสัตว์ จำนวน 2 คาบ
  • บริการวิชา 117452 การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ นางสาวสจี กัณหาเรียง โรงเรือนพักโครีดนม โรงเรือนลูกโค – โครุ่น โคนมทุกตัวในคอก จำนวน 1 คาบ
  • บริการวิชา 117432 นายเทวินทร์ วงษ์พระลับ โรงเรือนพักโคเดิม โคสาว 2 ตัว จำนวน 2 คาบ
  • บริการวิชา 117404 นางสาวอ้อย พลแสน น้ำนมดิบ 4 กก./ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง
  • บริการวิชา 117432 นายเทวินทร์ วงษ์พระลับ โคนม 2 ตัว สาธิตฉีดฮอร์โมน และตรวจสัด
  • ร่วมสอน วิชา 717543 วิชาการปฏิบัติคลินิกทางอายุรศาสตร์สัตวแพทย์ 3 จำนวน 1 คาบ / 6 กลุ่ม/เทอม จำนวน 80 คน
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117101 หลักการผลิตสัตว์ จำนวน 1 คาบ/ 3 กลุ่ม/เทอม จำนวน 187 คน
  • ร่วมสอน/ให้การฝึก วิชา 117385 การฝึกงาน 5 จำนวน 30 คาบ/เทอม จำนวน 20 คน
  • บริการวิชา 117461 สุขศาสตร์สัตว์ นายมานิตย์ สนธิไชย โคนม จำนวน 48 ตัว ใช้คอกคัด, โรงเรือนลูกโค – โครุ่น และโรงเรือนรีดนม ตรวจพยาธิอุจจาระ 4 คาบ, ตรวจสุขภาพทั่วไป 4 คาบและตรวจพยาธิในเลือด 4 คาบ
  • บริการวิชา 117452 นายวุฒิไกร บุญคุ้ม ศึกษาลักษณะภายนอกโคนม โคนมทุกตัว 1 คาบ
  • บริการโคตัวผู้ เพื่อฝึกทักษะการรีดน้ำเชื้อ การทำน้ำเชื้อแช่แข็ง นายดำรงรักษ์ รักวงษ์ฤทธิ์ นศ.ป.โท โคนมเพศผู้ 2 ตัว
  • บริการวิชา 127722 นายเทวินทร์ วงษ์พระลับ เก็บตัวอ่อนจากแม่โครีดนม 2 ตัว
  • บริการวิชา 117452 นางสาวสจี กัณหาเรียง สำรวจรูปแบบการผสมพันธุ์โคนม
  • 2548
  • ร่วมสอน วิชา 117 101 หลักการผลิตสัตว์ จำนวน 1 คาบ/3 ชม/4 กลุ่ม/ เทอม/2 เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 250 คน/ปี
  • ร่วมให้การฝึก วิชา 117 283 ฝึกงานหน่วย 3 จำนวน 96 ชม./เทอม/ 2เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 230 คน/ปี
  • ร่วมให้การฝึก วิชา 117 385 ฝึกงานหน่วย 5 จำนวน 96 ชม/เทอม/2 เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 25 คน/ ปี
  • ร่วมสอน วิชา 117 404 การผลิตโคนม จำนวน 4 LAB/3 ชม./เทอม /60 คน
  •  ผู้ช่วยสอน วิชา 717 543 การปฎิบัติคลินิกอายุรศาสตร์สัตวแพทย์ 3 เรื่อง การจัดการและการดูแลระบบการรีดนมแบบ “Pipe Line” 3 ครั้ง/1.5 ชม. นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 35 คน
  •  บริการคอกและฝูงโคนม วิชา 117 452 พันธุศาสตร์และการผสมพันธุ์ เรื่อง ลักษณะประจำพันธุ์
  •  บริการคอกและโคนม 12 ตัว วิชา 117 461 สุขศาสตร์สัตว์ เรื่อง “ปฏิบัติการตรวจสุขภาพสัตว์เบื้องต้น” จำนวน 4 ครั้ง/2 ชม. เรื่อง”การตรวจพยาธิในเลือดโค” จำนวน 4 ครั้ง/2ชม. เรื่อง”การตรวจไข่พยาธิในมูลโค” จำนวน 4 ครั้ง/2ชม.
  •  บริการ โคนม คอกและเชือกในการบังคับสัตว์ วิชา 117 331 สรีรวิทยาสัตว์เลี้ยง เรื่อง”การเก็บตัวอย่างเลือด” จำนวน 2 ครั้ง/โค 10 ตัว

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2550
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง “ การศึกษาเปรียบเทียบการตอบสนองในระดับสรีระวิทยาและโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับกลไกการทนร้อนระหว่างโคเขตร้อนและโคเขตหนาว” นายอุทัย โคตรดก นักศึกษาปริญญาเอกโดยเก็บตัวอย่างเลือดโคนม จำนวน 5 ตัว สัปดาห์ละ 2 ครั้ง มีระยะเวลาตั้งแต่เดือน ต.ค. – ธ.ค. 49
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง “ แนวทางในการเพิ่มการทำงานของรังไข่ของโคนมแรกคลอดโดยการเสริมมันเฮย์ร่วมกับ กากมันสำปะหลังในอาหารข้น” นางสาวสุภักดิ์ พรมกสิกร นักศึกษาปริญญาโทโดยใช้โครีดนม จำนวน 3 ตัว คอกทดลอง อุปกรณ์รีดนม และอาหารหยาบ-ข้น มีระยะเวลาทดลองตั้งแต่ ก.ค. – ต.ค. 49
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง“ผลของการใช้ใบหม่อนแห้งเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในสูตรอาหารโครีดนม”นายศุภชัยบทไธสงนักศึกษาปริญญาโท โดยใช้โครีดนมจำนวน 6 ตัว คอกทดลอง อุปกรณ์รีดนม และอาหารหยาบ-ข้น มีระยะเวลาทดลองตั้งแต่ ม.ค. – มิ.ย. 50
  • ปัญหาพิเศษเรื่อง ผลของระดับการมันจากการผลิตกรดซิติกร่วมกับฟางข้าวเป็นแหล่งอหารหยาบใน
  • สูตรอาหารผสมสำเร็จต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตของโคนม” นายพีระพร เส่งถิ่น นักศึกษาระดับ ปริญญาโทโดยใช้โครีดนมจำนวน 4 ตัว คอกทดลอง อุปกรณ์รีดนมและอาหารหยาบ-ข้น มีระยะเวลาทดลอง  ตั้งแต่ พ.ค. – ส.ค. 50
  • 2549
  • งานวิจัย เรื่อง “การใช้อ้อยและมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ วช. 47” นายกฤตพล สมมาตย์ รศ. 8 คอกทดสอบ 12 คอก(โรงเรือนรีดนมเดิม) โครุ่น 12 ตัว เครื่องชั่งน้ำหนัก และอุปกรณ์ประจำคอก
  • ปัญหาพิเศษ เรื่อง “ผลของการเสริมวิตามินเอต่อสภาวะเครียดออกซิเดชั่นในแม่โคนมช่วงให้นมและหยุดรีด” นายไพรัตน์ ศรแผลง นศ.ปริญญาเอกคณะเภสัชศาสตร์ โคนมช่วง 45-60 วันก่อนคลอด 1 ตัว โคนมให้นมระยะต้น 1 ตัว เก็บตัวอย่างเลือด 10 มล./ตัว 1 ครั้ง
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของระดับการใช้มันสำปะหลัง (มันเส้น) และการเสริมมาเลทต่อประสิทธิภาพการผลิตจุลินทรีย์โปรตีนในรูเมนและผลผลิตน้ำนมในโคนม” นายสิทธิศักดิ์ คำผา นศ.ป.เอก สัตวศาสตร์ คอกทดสอบ 4 คอก (โรงเรือนพักโครีดนม) โรงรีดนม โครีดนม 4 ตัว อาหารทดลอง เครื่องชั่งน้ำหนัก และอุปกรณ์ประจำคอก
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการตอบสนองในระดับสรีรวิทยาและโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับกลไกการทนร้อนระหว่างโคเขตร้อนกับโคเขตหนาว” นายอุทัย โคตรดก นศ.ป.เอก สัตวศาสตร์ โครุ่น อายุ 2-3 ปี 5 ตัว อาหารหยาบและอาหารข้นตลอดงานทดลอง
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของระดับอาหารหยาบในสูตรอาหารผสมสำเร็จที่มีซังข้าวโพดเป็นแหล่งอาหารหยาบต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และการให้ผลผลิตน้ำนมในโคนม” นางสาวอัจฉรา ลักขณานุกุล นศ.ป.โท สัตวศาสตร์ คอกทดสอบ 4 คอก(โรงเรือนพักโครีดนม) โรงรีดนม โครีดนม 4 ตัว อาหารข้นตลอดงานทดลอง เครื่องชั่งน้ำหนัก และอุปกรณ์ประจำคอก
  • งานวิจัย นายกฤตพล สมมาตย์ รศ.8 โครุ่น 12 ตัว คอกทดสอบ 12 คอก (โรงเรือนรีดนมเดิม) และอุปกรณ์ประจำคอก
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของระดับถั่วคาวาลเคดที่ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ การให้ผลผลิต และองค์ประกอบน้ำนมในโครีดนม” นางสาวสุภาพร แซ่เตียว นศ.ป.โท สัตวศาสตร์ คอกทดลอง 4 คอก (โรงเรือนพักโครีดนม) โรงรีดนม โครีดนม 4 ตัว อาหารสัตว์ตลอดงานทดลอง เครื่องชั่งน้ำหนัก และอุปกรณ์ประจำคอก
  • ปัญหาพิเศษ เรื่อง “การประเมินสุขภาพเต้านมและจำนวนโซมาติกเซลในแม่โครีดนม” นายไพรัตน์ ศรแผลง นศ.ป.เอก คณะเภสัชศาสตร์ โรงเรือนรีดนม โครีดนม Lac.1 7 ตัว โครีดนม Lac. 3 7 ตัว เก็บตัวอย่างน้ำนม จำนวน 50 มล./ตัว และอุปกรณ์ประจำคอก
  • งานวิจัยเรื่อง “กลยุทธในการปรับปรุงประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของโคนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : รูปแบบการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลในโคนมแรกคลอด” ผศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ คอกทดลอง (โรงเรือนพักโครีดนม) อาหารสัตว์ตลอดงานทดลอง โครีดนมแรกคลอด
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของการผลิตมันเส้นและกล้วยดิบอัดเม็ด (แคส-แบน) ต่อกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน และการใช้ประโยชน์ในโครีดนม” นางสาวรัชตาภรณ์ ลุนสิน นศ.ป.โท สัตวศาสตร์ คอกทดลอง 6 คอก (โรงเรือนพักโครีดนม) โรงรีดนม โครีดนม 6 ตัว อาหารสัตว์ตลอดงานทดลอง เครื่องชั่งน้ำหนัก และอุปกรณ์ประจำคอก
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของการใช้ซังข้าวโพดและฟางข้าว ร่วมกับถั่วคาวาลเคดแห้งเป็นแหล่งอาหารหยาบในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ การให้ผลผลิต และองค์ประกอบน้ำนมในโครีดนม” นางสาวจริญญา มุ่งม่าน นศ.ป.โท สัตวศาสตร์ ขอใช้พื้นที่ในโรงเก็บอาหารของหมวดโคนม เป็นสถานที่เก็บถั่วคาวาลเคดแห้งจำนวน 3 ตัน และซังข้าวโพดจำนวน 2 ตัน เพื่อใช้ในงานทดลอง เป็นเวลา 9 เดือน
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของการใช้หญ้าแพงโกล่าแห้งเป็นแหล่งอาหารหยาบในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และการให้ผลผลิตในโครีดนม” นางสาวศุภาวรรณ ขันธวิชัย นศ.ป.โท สัตวศาสตร์ ขอใช้พื้นที่โรงเก็บอาหารของหมวดโคนม เป็นสถานที่เก็บหญ้าแพงโกล่าแห้งจำนวน 4 ตัน เพื่อใช้ในงานทดลอง เป็นเวลา 9 เดือน
  • ปัญหาพิเศษเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพน้ำนมแพะและโคนมในจังหวัดขอนแก่น” นายนริศร นางาม ผศ. คณะสัตวแพทย์ ขอเก็บตัวอย่างน้ำนมดิบ (ตัวอย่างละ 50 มล.) จำนวน 20 ตัวอย่าง (ครั้งละ 10 ตัวอย่าง) ในวันที่ 20 และ 27 ส.ค. 2548 (ช่วงเช้า)
 
  • 2548
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของการใช้กากมันสำปะหลังเป็นแหล่งอาหารพลังงานทดแทนมันสำปะหลังเส้นในสูตรอาหารข้น ต่อขบวนการหมักในกระเพาะหมักความสามารถในการย่อยได้ และการเจริญเติบโตในโคนมรุ่น” ของ นายพีรพจน์ นิติพจน์ นักศึกษาปริญญาโท โคนมรุ่น จำนวน 18 ตัว และ คอกทดสอบ 18 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  • ปัญหาพิเศษเรื่อง “การใช้ GT 1000 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการหมักและการสืบพันธุ์ในโคนม” ของ นายนนทศักดิ์ เปี่ยมผล นักศึกษาปริญญาเอก ใช้โคนมแห้งไม่ท้อง จำนวน 16 ตัว และคอกทดสอบ 2 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  •  วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของสัดส่วนของซังข้าวโพดกับฟางข้าวเป็นแหล่งของเยื่อใยในสูตรอาหารหยาบสำเร็จ รูป ต่อกระบวนการหมัก และการให้ผลผลิตของโคนม” ของ นายกรุง วิลาชัย นักศึกษาปริญญาโท ใช้โครีดนม จำนวน 4 ตัว คอกทดสอบ 4 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  •  วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบผลของการแช่แข็งแบบลดอุณภูมิอย่างช้าและแบบ Vitrification ต่อคุณภาพตัวอ่อนโคนมที่คัดเพศด้วยเทคนิก PCR” ของนายสหัส นุชนารถ นักศึกษาปริญญาโท โคสาวจำนวน 6 ตัว คอกทดสอบ 1 คอก อาหารสัตว์สำหรับโคทดลอง เครื่องชั่งน้ำหนักและ อุปกรณ์ประจำคอก
  •  วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของซีลีเนียมและไวตามินอี ต่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม” ของ นางนันทิยา สุวรรณปัญญา นักศึกษาปริญญาเอก ใช้โคสาว 12 ตัว และคอกทดลอง 12 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  •  เรื่อง “การใช้อ้อยเป็นอาหารสัตว์ วช. 2546” งานวิจัยโครงการของ ผศ.ดร.กฤตพล สมมาตร ใช้โคสาว 15 ตัว คอกทดสอบ 15คอกเครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2550
  • งานบริการวิชาการวิจัย ขอความอนุเคราะห์ปุ๋ยคอก จำนวน 1 รถ เพื่อใช้ในการจัดฝึกอบรม เรื่อง “ อาชีพทางการเกษตรรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง” แก่ทหารกองประจำการมณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร์ ระหว่างวันที่ 19 -23 มี.ค. 50
  • นางสาวชนกนัศ ศิริบูรณ์ นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอความอนุเคราะห์มูลโค เพื่อทำวิจัยเรื่อง “ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลโค โดยกระบวนการบำบัด” จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 20 กิโลกรัม (วันที่ 16, 23, 30 ก.ค. และ 6 ส.ค. 2550)
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3 นำคณะครูและนักเรียจำนวน 70 คน ดูงานการผลิตโคนม ในวันที่ 3 ส.ค. 50 เวลา 10.00 – 11.00 น.
  • สำนักงานวิเทศน์สัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอความอนุเคราะห์นำนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยเคียวริน ประเทศญี่ปุ่น (Kyorin University) จำนวน 10 คน ศึกษาดูงานหมวดโคนม ในวันที่ 31 ส.ค. 2550 เวลา 10.00 – 11.00 น.
  • นักศึกษาสัตวศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ขอความอนุเคราะห์ลูกโคตัวผู้ จำนวน 1 ตัว เพื่อใช้ในโครงการ “สานสัมพันธ์พี่น้องสัตวศาสตร์ 50” ในวันที่ 1 – 2 ก.ย. 50
  • 2549
  • สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น ของอนุญาติให้เยาวชน 1 คน ทำงานบริการสังคมที่หมวดโคนมฯ ทำหน้าที่ให้อาหารสัตว์ ตั้งแต่ 29 ส.ค. – 2 ต.ค. 2547 เป็นเวลา 5 วันๆละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง
  • นศ. สัตวแพทยศาสตร์ 117101 (ภาคพิเศษ) จำนวน 18 คน ดูงานฟาร์ม 13/12/2547
  • ชุมนุมสัตวบาลขอความอนุเคราะห์ลูกโคตัวผู้ 1 ตัว ในงาน cowboy night 15/1/2548
  • สนง.เศรษฐกิจการเกษตร เขต 4 ขอนแก่น ขอความอนุเคราะห์ข้อมูล ปริมาณน้ำนมและจำนวนโคนมไตรมาสที่ 4 ต.ค. – ธ.ค. 2547 25/1/2548
  • หจก.พันปีรีสอร์ท แอนท์ เอ็คซ์ปอร์ต นำเกษตรกรจำนวน 8 คน เข้าเยี่ยมชมกิจการ วันที่ 25 ก.พ. 2548 (13.00 – 16.00 น.)
  • อบต.หนองสองห้อง นำเกษตรกร จำนวน 200 คน ศึกษาดูงานวันที่ 1 และ 5 เม.ย. 2548
  • รร.อนุบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำนักเรียน แผนกโปรแกรมภาษาอังกฤษ จำนวน 6 คน และครูจำนวน 2 คน ทัศนศึกษาโรงรีดนม วันที่ 1 มิ.ย. 2548 เวลา 15.45 – 17.00 น.
  • ชุมนุมสัตวบาลของความอนุเคราะห์ลูกโคตัวผู้ 2 ตัวในงานโครงการสัมมนาคณะกรรมการชุมนุมสัตวบาลและฝึกงานทางสัตวศาสตร์ ในวันที่ 10-11 กันยายน พ.ศ. 2548
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 นำเด็กพิการ ผู้ปกครองเด็กพิการ และบุคลากรศูนย์ฯ รวมทั้งสิ้น 40 คน เข้าทัศนศึกษา วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 (9.30-12.00 น.)
 
  • 2548
  • ศึกษาดูงาน “ระบบรีดนม” บริษัทแอลไทย ยูเนี่ยนฟาร์ม จำกัด จำนวน 2 คน/3 ชม.
  • อนุเคราะห์ของเหลวในรูเมน จำนวน 3 ครั้ง/1.5 ลิตร เพื่อทดสอบวิธีการวัดแอมโมเนียจาก กระเพาะหมัก ผศ.ดร.กฤตพล สมมาตร ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
  • อนุเคราะห์ ตัวอย่างน้ำนม วิชาการผลิตโคนม 117 404 จำนวน 7 ครั้ง น้ำนม 18 กก.
  • ศึกษาดูงาน เรื่อง”น้ำนม” ของนักเรียนชั้นอนุบาล1 จำนวน15คนและครู3ท่าน จากโรงเรียน พัฒนาเด็ก /1.5 ชม.
  • อนุเคราะห์ สถานที่ในการเก็บฟาง แก่โครงการวิจัยระบบปศุสัตว์-พืช พท. 8X10 เมตร
  • อนุเคราะห์โรงเรือนรีดนมและโครีดนม แก่ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ “การ ตรวจ CMT และการเก็บตัวอย่างน้ำนม” จำนวน 4 ครั้ง/2ชม.
  • อนุเคราะห์ตัวอย่างเลือด จำนวน 2 ครั้ง/200 ซีซี. แก่ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • อนุเคราะห์ข้อมูลจำนวนโคนมและปริมาณน้ำนมดิบ แก่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4
  • อนุเคราะห์ พท. โรงเก็บฟางเพื่อตากอ้อย เวลา 20 วันแก่โครงการ “การใช้อ้อยเป็นอาหารสัตว์” โครงการวิจัยของ ผศ.ดร.กฤตพล สมมาตร ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
  • อนุเคราะห์ ตัวอย่างน้ำนม วิชาปัญหาพิเศษของนักศึกษาชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทยศาสตร์ เรื่อง “การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำยาล้างจานทีโพล์และซันไลต์ ในการตรวจสอบเต้านม อักเสบแบบไม่แสดงอาการในโคนมเปรียบเทียบกับน้ำยาซีเอ็มที่มาตรฐาน” 2 มิย. 46-2 สค. 46 จำนวนทั้งสิ้น 10 กก.
  • อนุเคราะห์ตัวอย่างเลือด แก่ นางนันทิยา สุวรรณปัญญา นักศึกษาปริญญาเอก โคนมที่ใช้เก็บ ตัวอย่าง 6-8 ตัวๆละ 10 ซีซี.จำนวน 10 ครั้ง
  • อนุเคราะห์เข้าเก็บตัวอย่างมูลวัว แก่นักศึกษาปริญญาโท จาก Wageningen University ประเทศเนเธอร์แลนด์
  • ฝึกงานด้านจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ในการ สำรวจหาเชื้อ Escherichia coli O157:H7 จากมูลโค จำนวน 2 คน /2ครั้ง/สัปดาห์/3เดือน